(ก) การตรวจตราบริเวณสถานที่รับผิดชอบเทคนิคการตรวจการสังเกต และรับรู้สภาพแวดล้อมการรับรู้สถานการณ์การสังเกต การตรวจสอบบุคคลและสัมภาระ การสังเกตจดจำตำหนิรูปพรรณบุคคล
(ข) องค์ประกอบพื้นฐานของความปลอดภัย การห้ามเข้าพื้นที่ การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ การเคลื่อนย้ายคนไปในที่ปลอดภัย
(ค) การควบคุมฝูงชน การสร้างสิ่งกีดขวาง หรือกำหนดเขตหวงห้าม การปิดกั้นสถานที่
๒. การเขียนรายงาน (ปฏิบัติ ๑ ชั่วโมง)
(ก) หลักการเขียนรายงาน การจดบันทึกข้อมูล เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม และ อย่างไร
(ข) ความแตกต่างของชนิดและวัตถุประสงค์ของรายงาน
(ค) ความถูกต้องตามกฏหมายและการรักษาความลับ
๓. การเตรียมพร้อมกรณีเหตุฉุกเฉิน (ปฏิบัติ ๓ ชั่วโมง)
(ก) สิ่งที่อาจทำให้เกิดเหตุฉุกเฉิน ปัจจัยเสี่ยง เหตุเพลิงไหม้ เหตุระเบิด วัตถุต้องสงสัย วัตถุระเบิด
(ข) ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมต่อเหตุฉุกเฉิน เช่น เหตุเพลิงไหม้ เหตุระเบิด เหตุเกิดจากอาวุธ กรณีพบอาวุธต้องสงสัย กรณีพบวัตถุระเบิด
(ค) หน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัยในสถานการณ์ฉุกเฉิน กฏหมายที่เกี่ยวข้อง การรักษาสถานที่เกิดเหตุ
๔. การติดต่อสื่อสาร (ปฏิบัติ ๑ ชั่วโมง)
(ก) ทักษะติดต่อสื่อสารด้วยคำพูดและการเขียน การโต้ตอบโดยการใช้คำพูดและไม่ใช้คำพูด การใช้ภาษาที่ดีและเหมาะสมในการพูดการเขียน หลักการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การถ่ายทอดข้อความอย่างถูกต้อง
(ข) เทคนิคในการสื่อสารโดยคำนึงถึง พฤติกรรม/การกระทำ ตามลักษณะของบุคคลหรือสถานการณ์ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การแสดงความรู้สึกต่อผู้อื่น (เช่น ความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม คนพิการ บุคคลที่มีปัญหาทางจิต)
(ค) เทคนิคและขั้นตอนการใช้วิทยุสื่อสารและการใช้โทรศัพท์
๕. หลักการใช้กำลัง (ปฏิบัติ ๒ ชั่วโมง)
(ก) การใช้อำนาจตามกฏหมาย อธิบายถึงการใช้กำลังโดยชอบด้วยกฏหมาย การเลือกวิธีการที่เหมาะสมในการใช้กำลัง
(ข) สถาวะการทำงานภายใต้ความกดดันและการักษาความสงบเรียบร้อย
๖. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น (ปฏิบัติ ๒ ชั่วโมง)
(ก) การจัดการพื้นที่ฉุกเฉิน
(ข) การช่วยเหลือกรณี ช๊อค เป็นลมหมดสติ
(ค) การช่วยเหลือกรณีเกิดการสำลัก หรือ มีการอุดตันทางเดินหายใจ (ผู้ใหญ่)
(ง) ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR)
๗. การจัดการจราจร (ปฏิบัติ ๒ ชั่วโมง)
(ก) การควบคุมคน/ยานพาหนะในพื้นที่รับผิดชอบหรือทางสาธารณะกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
(ข) การติดตามสภาพการจราจรในพื้นที่รับผิดชอบ
(ค) การใช้สัญญาณมือในการจัดการจราจร
(ง) การใช้อุปกรณ์เพื่อควบคุมการจราจร
(จ) การแต่งกายที่เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่
๘. การฝึกภาคสนาม (ปฏิบัติ ๙ ชั่วโมง)
(ก) ระเบียบแถว
(ข) การทำความเคารพ
(ค) การต่อสู้ป้องกันด้วยมือเปล่า อาวุธมีด กระบอง
TODAY | THIS MONTH | TOTAL | |||
31 | 1090 | 74333 |